วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แทร็ก 1/16 (1)


พระอาจารย์
1/16 (25530331B)
(แทร็กชุดต่อเนื่อง)
31 มีนาคม 25553
(ช่วง 1)


(หมายเหตุ : แทร็กนี้ยาวจึงแบ่งโพสต์เป็น 3 ช่วงบทความ)

โยม –  พระอาจารย์ครับ มีคนถาม... อย่างพระอาจารย์ก็บอกไม่ต้องทำสมถะก็ได้ ไม่ต้องทำสมาธิมากก็ได้  แต่ก็มีคนบอกว่า ก็แหมพระอาจารย์แต่ละองค์นี่ ท่านทำกันมาโชกโชน โยมไม่ได้ทำกันเลย

พระอาจารย์ –  แล้วไง สงสัยอะไร


โยม –  ก็สงสัยว่า ...เอ๊ แล้วโยมจะไปรอดหรือครับ ถ้าอยู่ๆ โดดเข้ามา “รู้เฉยๆ” นี่

พระอาจารย์ –  ก็เพราะทำมามากแล้วสิ เราถึงมาบอกว่าอย่าทำ  ถ้าทำไม่พอแล้วจะบอกให้ทำน่ะ... ก็ทำมามากแล้วไม่เห็นว่ามีประโยชน์ตรงไหนน่ะ ถึงไม่ให้ทำ


โยม –  นึกว่า เป็นสภาพกำลังหนุนของแต่ละองค์ได้มา

พระอาจารย์ –  ไม่เกี่ยวอ่ะ


โยม –  ไม่เกี่ยวหรือครับ

พระอาจารย์ –  อยู่ที่ความขยัน ในการที่จะรู้บ่อยๆ ...รู้แล้วก็เห็น นะ

ก็บอกแล้วว่าอย่าให้มันหายนาน ...อุบายวิธีการที่ไม่ให้หายนาน...คือบอกแล้วให้มารู้กายเห็นกาย เห็นกายอย่างนี้ นั่ง กำลังนั่ง

เห็นมั้ย ถ้ารู้นี่มันรู้ได้ขณะหนึ่ง เดี๋ยวก็หาย รู้...หาย รู้...หาย อย่างนี้ มันลอย ...แล้วถ้าไม่ขยันรู้บ่อยๆ ถ้าไม่รู้ถี่ๆ นะ มันก็หลุด แล้วก็กว่าจะรู้สักครั้งนึง...นาน

เพราะงั้นถ้ารู้ที่ใจอย่างเดียวนะ มันจะเป็นอย่างนั้น เพราะจิตมันไวมาก ...และพวกเรามันมีงานการต้องทำ หูได้ยิน จิตต้องคิด ต้องมีการประกอบกระทำภายนอกอยู่เรื่อยนี่ 

มันจะหลุดง่าย  ถ้ารู้ที่ใจอย่างเดียว ...เพราะนั้นว่าถ้าอยากจะให้มันรู้...ให้สติมันอยู่กับจิตนานๆ หรือว่าอยู่กับกาย วาจา จิต นานๆ นี่ ...ให้มารู้กับกาย เห็นกายอยู่


โยม –  เห็นกายอยู่

พระอาจารย์ –  อือฮึ เห็นกาย ...เพราะว่ามันไม่ค่อยเห็นจิตหรอก มันรู้จิตแต่ไม่ค่อยเห็นจิต เข้าใจมั้ย เห็นแป๊บเดียว และมันจะเห็นตอนที่มันมีอารมณ์แรงๆ หนักๆ แล้วก็เห็น

แล้วพอเห็นนะ พอเริ่มเห็นปุ๊บ มันก็จะมีอาการเพ่ง ใช่มั้ย แรกๆ ... เพราะมันยังรู้ไม่เป็นเห็นไม่เป็น มันไม่เห็นเฉยๆ มันเห็นแล้วมันขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน

มันเห็นแล้วมันจะต้องเข้าไปอย่างนั้นอย่างนี้ และมันมีการวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่เห็นอีก อย่างนี้แต่ว่าถ้ามันชำนาญแล้ว มันจะรู้เห็นเป็นกลาง


โยม –  เริ่มจากเห็นกาย แล้วมันจะสร้างความคุ้นเคยที่จะเข้ามาเห็นนี่

พระอาจารย์ –  เห็นกายนี่มั้ย ตอนนี้ รู้กายใช่มั้ย ...ปกติใช่มั้ย  มันจะคุ้นเคยกับความเป็นปกติ มันจะคุ้นเคยกับ “รู้ปกติ” ...รู้อย่างนี้ เหมือนรู้กายอย่างนี้ คือรู้ปกติ

แล้วระหว่างขณะรู้นี้ก็คอยสังเกตดูภายใน รู้ปกติ...แล้วก็แอบดูว่ามีอะไร...สบาย-ไม่สบาย นี่คืออาการของใจ ก็ดูมีไหม...หงุดหงิด วิตก กังวล ความคิด... แอบดู เห็นมั้ย ชำเลือง เหลือบๆ ดูน่ะ 

มันก็จะเห็น...เทียบกับปกติอย่างนี้ ให้เห็นว่านี่ เออ เห็นปกติ รู้แบบปกติ รู้อย่างนี้ ไม่เพ่ง ไม่เอาอะไร ไม่ต้องมากไม่ต้องน้อย อย่างนี้ ...มันจะเรียนรู้ว่าปกติ ยังไงถึงรู้จิตแบบปกติ


โยม –  ที่พระอาจารย์บอก คือเห็นกายนี่ คืออาการซึ่งมันเห็นแบบปกติ

พระอาจารย์ –  อือ เห็นแบบปกติ เข้าใจมั้ย คือกายมันเป็นปกติอยู่แล้วน่ะ เวลารู้แล้วมันไม่มีอะไร เห็นมั้ย ไปทำอะไรก็ไม่ได้ ให้มันดีขึ้นหรือไม่ดีก็ไม่ได้ ใช่มั้ย ...มันก็ปกติของมันอยู่แล้วน่ะ 

แล้วการที่เราเข้าไปเห็น ก็เห็นด้วยอาการปกติ เข้าใจมั้ย ไม่ได้เห็นแล้วเข้าไปมีเข้าไปเป็น

และขณะเห็นโดยความเป็นปกติน่ะ ให้ดู..แอบดูใจด้วย ดูอาการของจิตว่า...นี่ เออ เห็นจิตแบบปกติเป็นอย่างนี้ มันจะได้รู้ว่าเห็นกลางๆ รู้กลางๆ มันเป็นอย่างนี้

แต่ถ้ารู้โดยกำหนดที่ใจอย่างเดียวเลยตรงๆ นี่ บางทีมันไม่เข้าใจ ...มันไม่เห็นแบบปกติน่ะ มันเห็นแบบเข้าไปมีเข้าไปเป็น เห็นแบบเข้าไปจัดการ เข้าไปแทรกแซง นี่ ถ้าไม่ชำนาญน่ะนะ

แต่อย่างครูบาอาจารย์ท่านอาศัยว่าปฏิบัติทางสมถะมาก่อน ชำนาญ...ชำนาญในการ พอตั้งใจดูจิตก็ดูเลย ดูได้เลยและเห็นเลย ...เห็นแบบสิ่งที่ถูกรู้กับสิ่งที่รู้ ต่างคนต่างอยู่ อย่างนี้ เข้าใจมั้ย 

อันนี้คือฐาน คือความชำนาญ...คือความชำนาญต่างหาก ...แต่ว่าไม่ได้เกี่ยวกับกำลังตรงไหน  คือว่ามัน “เป็น”  มันเป็น เข้าใจมั้ย แต่ว่าของพวกเรามันยังไม่เป็น เพราะมันถลำเข้าไป

และก็ถ้าไม่ถลำเข้าไปก็หาย...หายยย   พอรู้ขณะนึงแล้วก็หายไปซะครึ่งชั่วโมง ชั่วโมงนึง แล้วค่อยกลับมารู้ใหม่ มันไม่สามารถจะเห็น เข้าใจมั้ย

เพราะฉะนั้น ถ้าจะให้มันรู้เห็นได้นานขึ้น ก็ให้มารู้เห็นกายซะเลย เพราะกายมันง่ายกว่า ...ถ้าจิตมันค่อนข้างจะวอกแวก และเรามักจะมีความเห็นต่อจิตด้วย คือชอบจะมีอุปาทานกับมันอยู่เรื่อย

เช่นว่า...นี้ดี นี้ไม่ดี นี่มันมาก นี่มันน้อย นี่มันใช่ นี่มันไม่ใช่...อยู่เรื่อย เข้าใจมั้ย พอรู้ปุ๊บมันจะมีอุปาทานทันทีอยู่แล้ว และมันจะกระโดดเข้าไปเล่นด้วย ...ตรงนี้ มันจะไม่เห็นเฉยๆ

ไม่ใช่ว่าสอนให้ดูจิตแล้วจะดูจิตอย่างเดียว ก็รู้กายได้ มันเป็นเรื่องเดียวกันหมดแหละ ...ถ้าไม่งั้นพระพุทธเจ้าท่านไม่เรียกว่าสติปัฏฐานสี่หรอก งั้นท่านก็สอนสิว่าสติปัฏฐานหนึ่ง (โยมหัวเราะ ) ใช่ป่าว

ถ้าว่าดูใจมันง่าย มันรวมเป็นประธานอยู่แล้ว มันเป็นที่หนึ่ง คือทั้งหมดทุกอย่างรวมลงที่ใจ ...อย่างนั้นก็สติปัฏฐานหนึ่ง ไม่มีสติปัฏฐานสี่ งี้สิ ใช่ป่าว เอาง่ายๆ ทั้งหมดรวมลงที่ใจก็รู้ที่ใจที่เดียวงั้นสิ


โยม –  การสร้างสัมปชัญญะ คืออาการเห็นได้ในระยะเวลาหนึ่ง

พระอาจารย์ –  ใช่  มันไม่ใช่รู้...มันเห็น


โยม –  ไม่ใช่รู้แบบ ฉุบๆ แต่มันจะเห็นด้วย

พระอาจารย์ –  คือ "ทัสนะ" คือเห็น ...อย่างดูจิตน่ะ พอรู้ว่าไม่มีอะไร กลับมาดูแล้วไม่มีอะไร ธรรมดา ...พอรู้ว่าไม่มีอะไร ธรรมดา ปุ๊บ มันไม่มีอะไรให้รู้ต่อ แล้วมันเป็นยังงี้

ถ้ามันเห็นต่อ มันก็จะเห็นว่าอาการตั้งอยู่ของอาการนั้นคืออะไร ใช่ป่าว คือเห็นความตั้งอยู่ของความไม่ธรรมดา อย่างนี้ มันจะเห็นต่อเนื่อง

แต่ถ้ารู้ว่าไม่มีอะไร แล้วไม่มีอาการเห็น ปุ๊บ...หลุด  มันไม่รู้จะไปเห็นอะไร มันไม่ดูอะไร เข้าใจมั้ย เพราะว่าพอดูก็กลัวจะเพ่งอีก เพราะส่วนมากก็เพ่งนั่นแหละ นะ

แต่คราวนี้ที่ว่ากลับมารู้บ่อยๆ มันไม่บ่อยอ่ะดิ มันไม่บ่อย ...จริงๆ ถ้ารู้บ่อยๆ มันจะปรับมาเป็นสัมปชัญญะให้เอง ...แต่นี่มันไม่บ่อยพอที่จะให้เห็นต่อเนื่อง

ให้เห็น ...เพราะสตินี่จะไม่ต่อเนื่อง เช่น ไม่รู้ หาย หลง เผลอ เพลิน แล้วรู้ปุ๊บนี่ว่า...เออ เมื่อกี้หายไป อย่างนี้เห็นมั้ย มันเป็นแค่ขณะนึง...สตินี่  

แต่ไอ้ตัวที่ต่อเนื่องไปนี่มันเป็นเรื่องของ "เห็น" หรือสัมปชัญญะ คือทั้งรู้และเห็น เข้าใจมั้ย


โยม –  การที่บอกให้กลับมาดูกาย คือคล้ายๆ เตรียมพื้นฐาน

พระอาจารย์ –  ฝึกให้มันเห็น


โยม –  ฝึกให้มันมีอาการเห็น

พระอาจารย์ –  อือฮึ  ฝึกสัมปชัญญะ


โยม –  มันก็จะได้ทั้งรู้และเห็น...รู้และเห็น

พระอาจารย์ –  อือ และในขณะที่รู้...เห็นกายนี่ ให้รู้จิตด้วย ให้เหลือบๆ ดู ชำเลือง หยั่งลงไปเบาๆ แตะๆ แล้วมันจะเป็นเรื่องเดียวกันหมด มันจะทั้งรู้ทั้งเห็น ทั้งรู้ทั้งเห็น

ต่อไปถ้ามันเข้าใจ แข็งแกร่ง ชำนาญแล้วนี่ มันจะไม่มาเน้นตั้งฐานอยู่ที่กายหรอก ฐานอยู่ที่จิตก็ได้ ฐานกำหนดอยู่ที่ใจก็จะเห็นได้ ทั้งวันก็ยังเห็นได้ โดยที่ไม่มีอาการเพ่ง เข้าใจมั้ย มันจะเฉลี่ย มันจะเป็นกลาง


โยม –  หลวงพ่อคะ หนูขอถามเสริมของเขาหน่อยนึงนะคะ

พระอาจารย์ –  อือ


โยม –  เราจะปฏิบัติ ก็คือว่า รู้อะไรก็ได้  ถ้าเรารู้ลมได้เราก็รู้ลม ไม่ใช่ว่าต้องมาไล่ รู้ลมก่อน แล้วต่อไปด้วยอิริยาบถ

พระอาจารย์ –  รู้ว่ากำลังนั่งนี่ ไม่ต้องไปเอารายละเอียดมากขนาดนั้น รู้รวมๆ รู้โดยเชิงอรรถ มันมีเชิงอรรถกับเชิงพยัญชนะ พยัญชนะเช่น รายละเอียด กระพริบตา พลิกลิ้น กลืนน้ำลาย

ตรงนี้ไอ้จุดเล็กจุดน้อยนี่ ถ้าไม่ชำนาญนะ มันจะเป็นอาการเพ่ง ...จะไปเพ่ง กำหนด คอยระวัง คอยควบคุม คอยดู ให้มันเห็นอยู่ตลอดอย่างนี้ เข้าใจมั้ย ให้รู้รวมๆ รู้รวมๆ ไปก่อน


โยม –  คือรู้ภาพรวมเป็นฐาน แต่สิ่งที่งอกออกมา อย่างเราเคลื่อน ขยับอะไรอีกทีนึง ก็คือให้มีฐานคือการนั่งไปก่อนแล้วก็ค่อยรู้อย่างอื่นออกไป

พระอาจารย์ –  อือฮึ


โยม –  แล้วนั่งอยู่ มันคิดไป

พระอาจารย์ –  ก็ให้เห็นว่ากำลังคิดอยู่ในอาการนั่ง ยืน เดิน นอน อย่างนี้


โยม –  อันนี้ก็คือเทคนิคที่จะทำให้รู้ ใช่ไหมคะ

พระอาจารย์ –  ต่อเนื่อง ...มันจะทำให้เกิดความต่อเนื่องของสัมปชัญญะ


โยม –  อย่างเขาบอกว่าวินาทีนึง รู้กันไม่รู้กี่ครั้ง ที่เขาเห็นต่อ ต่อ น่ะ  สมมุติในหนึ่งนาทีที่รู้ตัวเป็นยี่สิบครั้ง ความถี่ตรงนี้ตามปกติมันต้องมากน้อยแค่ไหนหรือคะ

พระอาจารย์ –  ถ้าเห็นแล้วมันไม่ถี่หรอก เข้าใจมั้ยว่า...เห็นนี่ คือการเห็นนี่มันจะเห็นตลอดเวลา เหมือนกับตาเรามองเห็นรูปนี่ เห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้นในขณะนั้น แค่นั้นเอง

ไม่ใช่ว่ารู้ อย่างรู้ว่านี่ต้นไม้ นี่ใบไม้ นี่เรียกว่ารู้ ...รู้เป็นชิ้นๆๆ นี่ เป็นเรื่องเป็นตอนๆๆ นี่ ...แต่ถ้าเห็นนี่ ไม่ต้องรู้อะไร ก็เห็นน่ะ เห็นว่ามีคนเดินมา เห็นว่าหมาเดินไปเดินมานี่ เห็น...แต่ไม่ได้ว่าอะไร


โยม –  มันติดอยู่ตรงที่ว่า เคยแบบว่าได้ยินมาว่าสภาวธรรมควรจะต้องรู้มากกว่านี้รึเปล่า

พระอาจารย์ –  ไม่ต้องอ่ะ เครียด ...สังเกตมั้ยว่าเครียด เข้าใจรึเปล่า


โยม –  มันกำลังสับสน

พระอาจารย์ –  สับสน นั่นแหละ เครียด เป็นทุกข์ นะ ... นั่นแหละเกิดจากการที่เราไปกังวลกับที่ว่ามันถูกหรือผิดอย่างนี้น่ะ


โยม –  ค่ะ

พระอาจารย์ –  ไม่จำเป็นหรอกที่จะต้องขนาดนั้น


(ต่อแทร็ก 1/16  ช่วง 2) 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น